1.เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
สับปะรดอุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเกิดการติดเชื้อได้ยาก อีกทั้งยังสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดและขับเสมหะในลำคอได้เช่นกัน
2.ช่วยย่อยโปรตีนได้ดี
เนื่องจากในสับปะรดมีเอนไซม์ธรรมชาติที่มีชื่อว่าบรอมีเลน ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สามารถย่อยอาหารได้ทั้งที่อยู่ในสภาวะกรดและด่าง จึงสามารถย่อยอาหารจำพวกโปรตีนได้ดี อีกทั้งยังช่วยลดอาการจุกเสียดได้อีกด้วย
3.ช่วยทำลายแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์
เอนไซม์บรอมีเลนที่อยู่ในสับปะรดมีส่วนช่วยทำลายแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบของกระเพาะอาหารและลำไส้ รวมทั้งช่วยสมานแผลได้เป็นอย่างดี
4.ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
เอนไซม์บรอมีเลนมีส่วนช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งเต้านม เนื่องจากเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดขาวเกิดการหลั่งสารไซโตไคน์ที่ช่วยให้เม็ดเลือดขาวกำจัดเซลล์มะเร็งได้นั่นเอง
5.บรรเทาอาการร้อนใน
เมื่อมีอาการร้อนใน หรือรู้สึกกระหายน้ำและกระสับกระส่าย แนะนำให้กินสับปะรดทั้งแบบสดหรือนำมาปั่นเป็นน้ำสับปะรดดื่มจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ดี
6.มีส่วนช่วยลดน้ำหนัก
เนื่องจากสับปะรดอุดมไปด้วยใยอาหาร ดังนั้นการกินผลไม้ที่มีใยอาหารย่อมช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องได้ง่าย จึงมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักได้โดยปริยาย
7.ป้องกันอาการเหน็บชา
สารอาหารที่สำคัญอย่างวิตามินบี1 และวิตามินบี6 ที่อุดมอยู่ในสับปะรดนั้น แม้จะมีอยู่ในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็มีส่วนช่วยป้องกันอาการเหน็บชาและอาการเหนื่อยง่ายได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้ระบบประสาทและเม็ดเลือดทำงานได้ดียิ่งขึ้น
8.ส่งผลต่ออสุจิและช่องคลอด
ในส่วนของคุณประโยชน์ที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่างในการกินสับปะรดก็คือ ทำให้อสุจิมีรสหวาน ซึ่ง ดร.แครอล ควีน นักสังคมศาสตร์และเพศศาสตร์กล่าวไว้ว่า การที่เรากินอะไรเข้าไปก็ตาม ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม หรือยารักษาโรค ล้วนมีผลต่อช่องคลอดและอสุจิ ดังนั้นการกินสับปะรดแล้วทำให้อสุจิมีรสหวานก็ย่อมมีสิทธิ์เป็นไปได้
เป็นอย่างไรกันบ้างคะหลังจากที่ได้รู้ถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการกินสับปะรด เชื่อว่าจะทำให้สาวๆ หันมาให้ความสำคัญกับการกินผลไม้ชนิดนี้กันมากขึ้น เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย และยังมีส่วนช่วยป้องกันอาการต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้อีกด้วย
เข้าชม : 1768
|